Game of Thrones : แดแนริส โลกสวยแบบอุดมคติ

หลิวเพิ่งได้ดูหนังเรื่องนี้....
ใช้เวลาประมาณ 3 อาทิตย์มั้ง ดูจนจบซีซั่น 3
(เหมือนพวกว่างเลย ดูทั้งวันทั้งคืน)
แต่ความจริงมันไม่ใช่แบบนั้นนะ.

เพราะซีซัน 3 หลิวกรอข้ามค่อนข้างเยอะ...
และคิดว่าคงต้องกลับไปดูใหม่ เมื่อจิตว่างๆจริง...
ทั้งๆที่กรอข้าม แต่ก็ยังอยากเขียนถึง 
ก่อนที่จะลืมไปซะก่อน...

เพราะหลิวยังไม่ได้ดูอย่างระเอียดเลยในซีซั่น 3
และยังไม่ได้ไตร่ตรองมากอย่างที่ควรจะเป็น...
หลิวขอพูดเแพาะสิ่งที่หลิวสนใจก่อนแล้วกัน
และเมื่อไปดุอย่างละเอียดอีกครั้ง
จะมาพูดถึงประเด็นอื่นๆใหม่..
นี่จึงเป็นประเด็นแบบผิวเผินจริงๆ

เริ่มจากภาคแรก ครั้งแรกที่หลิวเปิดดู...
แค่เห็นฉากแรก ที่ เน็ดตัดหัวคนที่หนีมาจาก เดอะวอลล์
หลิวเลิกดูเลย ไม่ดูต่อ...
ไม่ใช่เพราะเป็นคนโลกสวยหรือรับไม่ได้กับความโหดแบบนั้นน่ะ
แต่ยังคิดว่า....สภาวะตอนนั้นยังไม่มีสมาธิพอจะดูหนังแนวนี้..
เวลาหลิวจะดูอะไรสักอย่าง หลิวไม่ได้สักแต่ดูเพื่อความสนุก
แต่หลิวชอบดูเพื่อหาคำตอบ เพื่อหาประสบการณ์ให้กับตัวเอง...
เมื่อไม่พร้อม เลยไม่ดู
และกลับมาดูใหม่ เมื่อพร้อมแล้ว...

**นี่ชั้นจะอารัมภบทมานานละ เริ่มเลยเหอะ


ซีซันแรก ดูจนจบ ดูละเอียด ดูทุกอย่าง ศึกษาตัวละคร
บางคนบอกว่าซีซันแรกน่าเบื่อ แต่สำหรับหลิว หลิวชอบซีซันนี่มากที่สุด
เพราะหลิวว่ามันเป็นจุดเริ่มต้น มันมีเนื้อหา ันมีรายละเอียดเกี่ยวกับตัวละคร
มันเป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่สิ่งต่างๆ...
และจุดเริ่มต้นนี้มันเข้มข้น มันทำให้เราครุ่นคิด
ไม่จำเป็นต้องมีสงคราม  ไม่จำเป็นต้องมีฉากอลังการ...
แต่มันเป็นเรื่องของคน เรื่องของความรู้สึก
ความกดดันในชีวิต และทางแก้
สิ่งที่นำไปสู่ปัญหาทางการเมือง อำนาจ และสงคราม
มันเป็นจุกเริ่มต้นที่เข้มข้น มันจึงเป็นซีซันที่หลิวชอบที่สุด...

พอมาซีซัน 2  มันก็ยังโอเคนะ...แต่หลิวยังไม่พูดถึง
เพราะลืม...ลืมเนื้อหาแบบละเอียดไปแล้ว...
เอาเป็นว่าหลิวจะไม่พูดถึงเนื้อหาเลย มันเยอะมากมายจนจำไม่ไหว
คงต้องกลับไปดูอีกซัก 10 รอบ ถึงจะพูดถึงมันได้แบบสมบูรรืแบบ
จะขอพูดถึง สิ่งที่หลิวได้จากการดูรอบแแรก และสิ่งที่หลิวคิด


แต่พอเข้าซีซัน 3  หลิวยอมรับเลยว่าเลือกดู 
ซีซันสาม โดยหลักๆแล้ว หลิวดูแค่สองอย่าง
1.การเเติบโตของแดแนริส
2.เหตุการณ์ในคิงส์แลนดิ้ง
........ส่วนหัวข้อที่เหลือ 
1.จอน สโนว 
2.อาร์ย่า
3.ร็อบ สตาร์ค
4.แบรนด์ สตาร์ค
5.สแตนนิส บาราธอร์น
ดูน้อยมากถึงน้อยที่สุด
สาเหตุที่หลิวไม่ค่อยดูประเด็นเกี่ยวกับตัวละคร 5 ตัวข้างหลัง 
คำตอบคือ หลิวไม่ค่อยสนใจมัน

พูดตามตรงหลิวคิดว่า ซีรี่ยืเรื่องนี้น่าจะเปิดกว้างและเหมาะสำหรับคนทุกรูปแบบ
(แต่แน่นอนว่าไม่เหมาะกับพวกโลกสวยอย่างแน่นอน)
เพราะมีหลายเหตุการณ์ และดำเนินเรื่องผ่านตัวละครต่างๆ
อยู่ที่ว่าเราจะชอบแบบไหน
บางคนดูทั้งหมด
แต่สมองหลิวไม่ว่างพอจะไตร่ตรองเรื่องราวทั้งหมดนี้
เลยเลือกอยู่แค่ 2 ส่วน

ทำไม่ถึงสนใจแค่สองส่วนนี้....นี่เป็นสิ่งที่หลิวถามตัวเอง...
ทำไมชั้นถึงชอบ ทำไมชั้นถึงเลือก...
คำถามนี้ มันอาจจะตอบอะไรให้กับตัวเองได้หลายๆอย่าง หลิวจึงกลับมานั่งคิด
และตั้งใจว่าจะเขียนบทความเกี่ยวกบมัน อยู่สัก 2-3 4-5 
โดยบทความแรก เป็นเรื่องของแดแนริส

ทำไมถึงชอบตอนของแดแนริส ทาร์เกเรียน
เหตุผลแรกแบบทั่วๆไปคือ หลิวชอบตัวละครตัวนี้มากที่สุด
เพราะโดยพื้นฐานแล้ว หลิวเป็นพวกเฟมินิสต์
และตัวละครนี้คือตัวละครที่ใช้ความเป็นสตรี เพื่อมีอำนาจ
บางคนอาจมองว่า แดแนริสคือตัวละครที่ถูกกดขี่มาก่อน
แต่การพัฒนาของตัวละครนี้คือ เดินจากคนที่ไม่มีอะไรเลย เข้าสู่ความมีอำนาจ
เปลี่ยนจากทาสเป็นผู้มีอำนาจ...(แม้โดยพื้นทางจะเป็นฝ่ายมีอำนาจอยู่แล้วก็ตาม)
แต่ส่วนหนึ่งเราก็ต้องยอมรับว่า....ถ้าเทียบกับตัวละครอื่นๆแล้ว
แดเนลิส นับว่าเป็นตัวละครที่มี "โชคช่วย" อยู่มากเลยที่เดียว...
นั่นอาจเป็นเหตุผลให้ใครๆต่างก็เรียกว่า ตัวละครโลกสวย....เหตุการณ์โลกสวย
ถ้าเทียบกับเรื่องอื่นๆ..โดยเฉพาะละครน้ำเน่าไทย
เราจะมองว่า มันไม่โลกสวยเลย ถ้าคุณเคยดูละครในแบบนั้นมา
แต่ถ้าเทียบจากตัวอื่นๆในเรื่อง
ชีวิตของแดแนริส มันโลกสวยที่สุดแล้ว....
มันดูจะเป็นนิยายมากที่สุดแล้ว 

คำถามคือ มันโลกสวยยังไง
โลกสวยตรงที่....แดแนริส ผ่านอะไรมาอย่างง่ายๆ...
หลิวมองว่า เรื่องราวของแดแนริส คือเทพนิยายในแบบฉบับของ Game of Thrones
มันอาจไม่ได้เว่อร์เหมือน นิยายดีส์นี่ย์...แต่มันใช่....
ถ้าเราสังเกตให้ดีๆ มัจะมีจุดร่วมที่เหมือนกัน....



**ความรักของเจ้าหญิงเจ้าชาย....มันเป็นแนวเมโลดราม่าเลยล่ะ
สำหรับเรื่องราวของแดแนริสกับคาลดราโก้  ถ้าเปรียบเทียบกับละครไทยก็เรื่องจำเลยรักเลย...
แตมันแค่มีเหตุมีผลมากกว่า จำเลยรักอยู่หลายเท่า...
เพราะ มันคือเมโลดราม่าแบบไม่ใช่ตัวละครด้านเดียว....
แดแนริสถูกขายเป็นทาส ...เพราะพี่ชายต้องการกองทัพของคาลดราโก้
แดแนริสถูกกดขี่ทางเพศ....เพราะชนเผ่านี้เป็นคนเถือ่น แน่นอนว่าไม่มีอารยธรรม
มันยังมีประเด็นย่อยตรงนี้อีก....แต่ไว้ก่อนเนาะ
สุดท้าย แดแนริสก็รักคาลดราโก้ และคาลดร้าโก้ก็รักแดแนริสซะงั่น..
นี่มันละครน้ำเน่าชัดๆ!!!
เพียงแต่มันไม่น้ำเน่าตรงที่ มันไม่ได้จบแบบนี้...
และสุดท้ายคาลดราโก้ก็ตาย...และแดแนริสก็เป้นหญิงหม้ายที่สูญเสียคนรัก

แต่นั่นแหละ มันไม่ใช่ประเด็นหลักของ Game of Thrones....
แต่มันก็เป็นส่วนนึงที่ทำให้เรามองว่า
เรื่องราวของแดแลนิส มันยังมีความเป็นนิยาย ....แต่มันคือนิยายที่สมจริง
และมันเป็นนิยายที่รับได้ สำหรับผู้ใหญ่
เรามองว่ามันคือนิยายเพ้อฝันสำหรับผู้ใหญ่ที่ใช้ได้ทีเดียว
มันเป็นนี่ยายที่เหมาะกับคนที่ยอมรับได้ทั้งเรื่องของเทพนิยาย
และเรื่องของความเป็นจริงบนโลกที่โหดร้ายแบบหลิว.....
มันเป็นเรื่องราวที่สมดุลสำหรับคนอย่างหลิว...
ยอมรับได้ทั้งจินตนาการและความจริง


ต่อไปขอพูดถึง
การแปรเปลี่ยนจากคนอ่อนแอไปเป็นคนที่เข้มแข็ง...
เราไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า แดแนริสเปนตัวละครที่เข้มแข็งมากเลยทีเดียว....
และนี่แหละคือสิ่งที่นำไปสู่เนื้อหาแบบเฟมินิสต์ที่หลิวชอบ
เหตุผลที่ทำให้ผู้หญิงคนหนึ่งมีอำนาจ...
แต่ซีรี่ย์ออกจะใจร้ายๆหน่อยๆ ตรงที่อำนาจของแดแนริส 
บางทีมันมาจากมังกรด้วยน่ะสิ....
ทำไมถึงมองว่าโชคช่วย....
อย่างแรกคือ กองทัพทาส 8000 คนที่ได้มาอย่างง่ายๆ 
ด้วยการใช้มังกรฆ่าพ่อค้าทาส (คือถ้านางไม่มีมังกรนี่นางก็ไร้อำนาจนะ)
ความเป็นนิยาย คือ ยังต้องพึ่งมังกร พึ่งความเป็นนิยาย...
นี่คือโชคดีของตัวละครตัวนี้
และการเปิดโอกาสให้ทหารทาสเลือกอย่างอิสระ ว่าจะเป็นคนของเธอหรือจะจากไป....
มันเป็นโลกที่เรากำลังตามหาอยู่จริงๆ และแดแนริสก็คือผู้นำในอุดมคติ


"ผู้นำในอุดมคติ กองทัพในอุดมคติ....วีรสตรี"
ถามว่าโลกแห่งความจริงจะมีแบบนี้มั้ย
หลิวก็คงตอบไม่ได้ แต่ต้องยอมรับว่าทุกวันนี้ยังไม่เจอ
และในเรื่องราวแบบไทยๆ เราก็จะเจอแต่วีรสตรีด้านเดียว ตัวละครด้านเดียว
แต่สำหรับ แดแนริส หลิวมองว่า นี่ไม่ใช่ตัวละครด้านเดียว...

แดแนริสมีทั้งดีและชั่ว...
แต่โดยรวม สามารถพูดตามตรงได้ว่า คือ "คนดีในอุดมคติ" ที่หลิวยอมรับได้
เหมือนจะโหดร้ายที่จะบอกตามตรงว่า.....หลิวยอมรับคนดี ที่ฆ่าคนอื่น...
เหมือนหลิวจะยอมรับการเข่มฆ่า แต่มันไม่ใช่แบบนั้น...
หลิวไม่ได้ยอมรับมัน แต่ก็มองว่า มันก็เป็นอีกทางหนึ่ง....
ถ้าคุณต้องการอำนาจ

ทุกวันนี้ อำนาจไม่ได้ได้มาโดยไม่ทำร้ายผู้อื่น
"อำนาจไม่เคยเป็นสิ่งที่ดี"
โดยตัวของมัน อำนาจเป็นสิ่งที่ชั่วร้านอยู่แล้ว
และการหลอกตัวเองไปวันๆว่า 
เราได้อำนาจมาด้วยความดีแบบสุดๆมันคือเรื่องลวงโลก...
ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
 คือ การเอาตัวรอด  สิ่งมีชีวิตที่เข้มแข็งย่อมอยู่รอด 
และสิ่งมีชีวิตที่อ่อนแอต้องเป็นฝ่ายแพ้.....
สูญพันธุ์หายไป...วันหนึ่งมนุษย์ก็ต้องสูญพันธุ์เหมือนกัน

"คนดีแบบแดแนริส จึงเป็นคนดีที่สอดคล้องกับธรรมชาติ"
หลิวจึงเรียกว่าเป็นคนดีได้ และหลิวยอมรับ...
ถ้ามีคนดีแบบนี้ โลกก็ขับเคลื่อนไปได้ในแบบของมัน....ในแบบที่มันควรจะเป็น

โลกสวย...ในแบบที่ควรจะเป็น
"สังคมในอุดมคติ ที่พอจะมีความเป็นไปได้มากกว่า วีรสตรีด้านเดียว"


อีกคำถามนึงคือ
แดแนริส ได้ทำสิ่งที่ถูกต้องมั้ย
เช่นเดียวกับที่หลิวมองว่าแดแนริสเป็นคนดี...
หลิวมองว่า แดแนริสทำสิ่งที่ถูกต้อง และมันถูกต้องในแบบที่ควรจะเป็นไปได้แล้ว...
บางคนมองว่า แดแนริสเลิกทาสโดยใช้ความรุนแรง......
ทั้งๆที่ในประเทศไทยไม่ได้เลิกทาสแบบต้องใช้ความรุนแรงเลย....
ในสมัยของ ร.5 
บอกตรงๆหลิวไม่อยากพูดถึงเรื่องกษัตริย์ของเราเลย...
เอาง่ายๆ...มันเข้ากับอีกประเด็นหนึ่งที่หลิวจะเขียนถึงในครั้งหน้า
ตระกูลสตาร์ค : คนดีในกรอบของศีลธรรมที่เกิดจากศาสนา
มันจะเป็นเรื่องของศาสนา การใช้นิยามของคำว่าศีลธรรมมาเป็นเครื่องมือในการทำอะไรสักอย่าง
แต่เป็นสิ่งที่หลิวจะพูดถึงมันในครั้งหน้า....

ถ้านิยามของสตาร์ คือ ..คนดีแบบนั้น...
นิดยามของแดแนริส ก็คือคนดีแบบธรรมชาติ ดีเท่าที่ธรรมชาติจะเอื้ออำนวยให้เราดีได้...

ดีแบบที่ยังมีความดำมืดซ่อนอยู่....
มีทัังแบบสตาร์คและแดแนริส แต่เป็นความมืดในรูปแบบที่แตกต่างกัน...
แต่หลิวจะมาพูดถึงครั้งหน้า...





แต่ตอนนี้ขอพอแดแนริสแค่นี้ก่อน....อยากพูดถึงอีกเยอะ...
แต่ถ้าจะลงรายละเอียดขนาดนั้น คงเป็นเล่มอ่ะ และตอนนี้เมื่อยแล้ว ไปแระ T^T

**คราวหน้าจะมาพูดถึงตระกูลสตาร์คนะ....ในประเด็นนิยามคนดีและความถุกต้องนี่เหมือนกัน

ณารา : ปากท้องของนักเขียน กับคุณค่าของวรรณกรรม


ไม่ได้เขียนบทความนานมาก
เพราะช่วงนี้ไม่ค่อยได้อ่านอะไรเลยค่ะ
ส่วนหนังก็ไม่ค่อยได้ดูค่ะ
ปัจจุบันดุแต่ซีรี่ย์เรื่องเมอร์ลิน กำลังติด
เพราะเป็นคนบ้าเรื่องอาเธอร์ ซีรี่ย์นี้มีมานานละ
แต่ตอนแรกไม่ได้ดูเพราะรับนางเอกไมได้ เกว็นนิเวียไม่สวยอย่างแรงง
เซ็งอ่ะ...
นอกเรื่องง.....

กลับเข้ามาถึงหัวข้อวันนี้กันดีกว่า
ตั้งไว้ว่า
ณารา : ปากท้องของนักเขียน กับคุณค่าของวรรณกรรม

หัวข้อนี้ชัดเจนเลยว่า หลิวต้องเขียนวิจารณ์เกี่ยวกับงานของณาราอย่างแน่นอน
แต่ขอบอกว่า ไม่ใช่ค่ะ
หลิวไม่ได้จะเขียนงานวิจารณ์หนังสือใดๆของณาราทั้งสิ้น

แต่หลิวกำลังจะเขียนถึง ทิศทางของวรรณกรรมในปัจจุบัน โดยใช้งานเขียนของณารามาเป็นกรณีศึกษา

ทำไมถึงเลือก ณารา ???

เราคงไม่สามารถปฎิเสธได้เลยว่า ในยุคสมัยนี้ ณารา เป็นชื่อนักเขียนที่หลายต่อหลายคนล้วนรู้จัก
หนังสือของณาราบางเล่ม ชื่อของนักเขียนเด่นกว่าชื่อเรื่องด้วยซ้ำ
หากมองในมุมมองของหลิว ของบอกว่ามุมมองของหลิวเท่านั้น ไม่ใช่มุมมองของคนอื่น
หลิวมองว่าณาราเป็นนักเขียนหนังสือแนวตลาด เป็นหนังสือที่สร้างความบันเทิง ซึ่งบางครั้งอาจมองเลยผ่านคุณค่าของวรรณกรรมไปบ้าง เพราะวรรณกรรมของณารานั้นมักจะมีฉากอิโรติคซะเป็นส่วนใหญ่ของเนื้อเรื่อง
เมื่อครั้งแรกที่อ่านหนังสือของณารา เหตุผลที่หลิวคิดในตอนนั้นคือ ทำไมคนถึงอ่านเยอะ ทำไมถึงดัง
เพราะเป็นแค่หนังสือตลาดเหรอ ในเมื่อหนังสือตลาดในยุคสมัยนี้ก็มีมากมายเหลือเกิน แต่ทำไม ณาราถึงโด่งดังที่สุด
หลิวจึงหยิบงานเขียนของณาราขึ้นมา เพื่อพิจารณาในแง่ความแตกต่างของหนังสือตลาด
และพยายามที่จะลดอคติเกี่ยวกับหนังสือตลาดลง และพยายามเขียนให้เป็นกลางที่สุดเท่าที่จะทำได้
และงานเขียนของณารา เป็นงานที่ทำให้หลิวพอที่จะเขียนอย่างเป็นกลางได้
เพราะถึงแม้จะเป็นงานที่ตลาด แต่ก็นับว่ายังคงพอมีคุณค่าอยู่บ้าง

ปากท้องของนักเขียน กับคุณค่าของวรรณกรรม

ทำไมถึงใช้หัวข้อนี้....
เมื่อพูดถึงเรื่องนี้เราต้องมองไปถึงคำๆหนึ่ง
ในช่วงไม่นานมานี้ (จะว่าไปก็นานอยู่ แต่หลิวระบุยุคสมัยไม่ได้ ถ้าใครระบุได้ช่วยบอกหลิวจะขอบคุณมากเลยค่ะ)
เป็นช่วงที่เรามักได้ยินคำว่า "นักเขียนไส้แห้ง"
ในยุคนั้นใครๆก็มักพูดกันว่า เป็นนักเขียนมักไส้แห้ง เพราะเขียนด้วยอุดมการณ์ของตัวเอง
หรือเขียนงานแนวสะท้อนสังคมเป็นส่วนมาก 
เพื่อกระตุ้นและก่อให้เกิดการปฏิวัตเพื่อให้มีสภาพสังคมที่ดีขึ้น
แต่แน่นอนว่า.....งานเหล่านี้น้อยนักจะขายได้
นักเขียนบางคนอาจใช้เวลาทั้งชีวิตเพื่อศึกษาและนำมาใช้ในงานเขียนของตน
แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่จะการันตีได้ว่า งานเหล่านั้นจะขายได้
เพราะในประเทศไทยแล้ว อะไรที่มีสาระและหนักสมอง มักเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก
นักเขียนจึงไม่สามารถเป็นอาชีพที่ใช้ในการเลี้ยงปากเลี้ยงท้องได้
อาจจะเป็นได้เพียงแค่งานอดิเรกเท่านั้น

แต่เมื่อปัจจุบัน ทิศทางของงานวรรณกรรมเริ่มเปลี่ยนไป
ผู้คนเริ่มหันมาใช้งานวรรณกรรมในแง่เครื่องมือของการตลาด
ใช้เพื่อตอบสนองทางด้านความบันเทิง วรรณกรรมจึงเริ่มเฟื่องฟูขึ้นในยุคหลัง
แต่ในแง่ของคนวรรณกรรมแล้ว ความเฟื่องฟูของวรรณกรรมยุคหลังนั้นไม่ใช่สิ่งที่น่าภาคภูมิใจเลย

เพราะงานวรรณกรรมที่ได้รับความนิยมในยุคนี้ 
กลายเป็นเพียงวรรณกรรมตลาดที่มีจุดประสงคืหลักคือการตอบสนองทางด้านความบันเทิงเท่านั้น
งานวรรณกรรมอุดมการณ์ที่มีในสมัยก่อนเริ่มสูญหายไป
เราแทบจะไม่สามารถศึกษาวรรรณกรรมในด้านคุณค่าได้อีกในงานวรรณกรรมยุคปัจจุบัน
เรายังต้องศึกษาจากวรรณกรรมเก่าๆ หากจะมีวรรณกรรมใหม่ๆบ้างก็เป็นส่วนน้อย

นี่จึงไม่ใช่ความน่าภาคภูมิใจของวรรรกรรมไทย
เมื่องานวรรณกรรมตลาดเริ่มยึดครองพื้นที่ไปทั่วแผงหนังสือ
และวรรณกรรมอุดมการณ์ถูกซ่อนไว้ในมุมมืดหรือถูกส่งกลับคืนสนพ.อย่างเงียบๆ

นักเขียน ไม่ใช่เพียงแค่นักเขียน แต่กลายเป็นอาชีพนักเขียน
และอาชีพนักเขียน ก็นำไปสู่การล้มเหลวของวงการวรรณกรรม
เพราะเมื่อมันเป็นอาชีพ เป็นสิ่งที่ต้องใช้เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง 
เงิน จึงต้องมาก่อนอุดมการณ์และจรรยาบรรณ
เมื่อนั้น ทิศทางของงานเขียนจึงเปลี่ยนไป

งานที่เรียกร้องการพัฒนาสังคมเริ่มตายจากไปอย่างช้าๆ
ไม่ใช่งานที่อาชีพนักเขียนในยุคนี้จะนิยมเขียน (แต่นักเขียนยังเขียนกันอยู่)

ก่อนอื่น อยากให้เข้าใจคำนิยามที่หลิวพูดถึงกันก่อน ระหว่างคำว่า
นักเขียน และอาชีพนักเขียน
(มันเป็นคำนิยามที่หลิวคิดขึ้นมาเอง เพราะฉะนั้นมันจะไม่มีความหมายในพจนานุกรมใดๆทั้งสิ้น)
นักเขียน : คือคนที่ชอบเขียน เขียนด้วยใจที่อยากจะเขียน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม
อาชีพนักเขียน : อาชีพที่ต้องใช้งานเขียนในการดำรงชีวิต

จากคำนิยามสองคำนี้ หวังว่าผู้อ่านจะพอเห็นความแตกต่างและความเหลื่อมล้ำระหว่างสองคำนี้บ้าง

ความแตกต่าง คือ นักเขียน ไม่ได้เขียนเพื่อดำรงชีพ แต่เขียนด้วยใจอยากจะเขียน ในขณะที่อาชีพนักเขียน เขียนเพื่อดำรงชีวิต
และเมื่อโลกนี้ถูกครอบงำด้วยระบบการตลาด อาชีพนักเขียนจึงเป็นสิ่งที่ต้องวิ่งไปตามการตลาด ไม่ต่างจากนักธุรกิจ

เราต้องยอมรับว่า โอกาสที่เราจะพบเห็นอาชีพนักเขียนนั้น พบได้มากกว่า นักเขียน
เพราะอาชีพนักเขียนมีบริบทของการตลาดเป็นตัวสนับสนุนให้เป็นที่รู้จัก
แต่นักเขียนกลับอยู่ในมุมมืดเงียบๆ เพราะผลงานของนักเขียนมักเป็นสิ่งที่สวนทางกับการตลาดและไม่ตอบสนองความต้องการทางด้านอารมณ์ ความรู้สึก กิเลส ตัณหา
ในขณะที่ผลงานจากอาชีพนักเขียน นั้นเน้นตอบสนองความต้องการทางด้านความบันเทิง อารมณ์ ความรู้สึก กิเลส ตัณหา

ผลงานจากนักเขียน มักเน้นเพื่อตอบสนองด้านอุดมการณ์ และพูดถึงปัญหาทางสังคม
ในขณะที่ผลงานของอาชีพนักเขียน นั้นมุ่งเน้นเพื่อตอบสนองทางด้านความบันเทิงเป็นส่วนใหญ่


ณารา : ปากท้องของนักเขียน กับคุณค่าของวรรณกรรม

เมื่อเราเริ่มเข้าใจความแตกต่างระหว่าง นักเขียน กับอาชีพนักเขียนแล้ว
หลิวจึงมาศึกษางานของณารา

เราต้องยอมรับว่า ในยุคสมัยนี้ นักเขียนอ่านเป็นเหมือนสิ่งลี้ลับที่รู้จักกันเฉพาะกลุ่มเท่านั้น
และมีพลังในการผลักดันสังคมน้อยเหลือเกิน

ในขณะที่อาชีพนักเขียนนั้นมีอิทธิพลต่อสังคมอย่างมหาศาล
บางคนมองอย่างผิวเผินในแง่ของความบันเทิงเท่านั้น
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผลงานของอาชีพนักเขียนนั้นได้ส่งอิทธิพลต่อระบบสังคมอย่างเงียบๆ
และหลายๆด้าน เราจึงไม่สามารถปฎิเสธได้เลยว่างานเขียนตลาดนั้นส่งผลกระทบบต่อพฤติกรรมของคนในสังคมอย่างไร

ในเมื่อผู้เสพงานเหล่านี้มีตั้งแต่เด็กยันผู้ใหญ่
และงานเหล่านี้ เนื้อหาส่วนใหญ่นั้นมุ่งเน้นไปที่สังคมอันฉาบฉวย ที่ยึดความเจริญทางด้านวัตถุมากกว่าความเจริญทางด้านจิตใจ
จะถือว่าเป็นงานมอมเมาเยาวชนก็ไม่ผิดนัก

และนี่คือเหตุผลที่หลิวมีอคติกับงานเหล่านี้ และเลือกที่จะไม่มองมันอยู่พักหนึ่ง
จนถึงเวลาที่ตัดสินใจหยิบงานของ ณาราขึ้นมาอ่าน
สิ่งที่พบคือ งานของณารา เป็นผลงานที่อยู่ตรงกลางระหว่าง นักเขียน และอาชีพนักเขียนแม้จะค่อนไปในทางอาชีพนักเขียนมากกว่า
เป็นตัวจุดประกายให้หลิวคิดได้ว่า
สังคมของานวรรรกรรม อาจดีได้ขึ้นบ้าง
แม้จะเป็นในรูปแบบการตลาดก็ตาม
เราต้องยอมรับก่อนว่า 
เราสิ้นหวังเสียแล้วกับยุคของงานวรรณกรรมอุดมการณ์ที่ส่งเสริมให้คนได้คิดอย่างมีคุณค่า
ทุนนิยมได้ครอบงำโลกนี้ไปไกลกว่าที่คนจะมองเห็นสิ่งนั้นแล้ว
สิ่งที่เราต้องทำก็คือ เดินไปตามตลาดอย่างมีคุณค่า
ในที่นี้หลิวไม่ได้บอกว่า งานของณาราเป็นงานที่มีคุณค่าในทางอุดมการณ์
แต่งานของณาราก็ถือได้ว่า เป็นงานตลาดที่ยังพอมีคุณค่าอยู่บ้าง
เป็นงานตลาดที่ไม่เพียงแต่ได้รับความบันเทิงที่มาพร้อมกับการปลูกฝังความคิดแบบวัตถุนิยมไปในตัว
แต่อย่างมันก็ยังมีคุณค่าในแง่ของวรรรกกรรมทางด้าน ภาษา และเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ในบางเล่ม
ที่มีการศึกษามาแล้วอยู่บ้าง แม้จะเป็นส่วนน้อยจากผลงานส่วนใหญ่ก็ตาม
หลิวคิดในใจว่า ก็ยังดีกว่าไม่มี
แม้จะเป็นเพียงแสงริบรี่ แต่มันก็ยังดีกว่าไม่มีแสงเลยสักนิดเดียว
นี่คือการมองอย่างเป็นกลางที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว

งานของณาราไม่ได้แย่ แต่งานของณาราก็ไม่ได้ดี ในแง่ของการช่วยพัฒนาสังคม
ข้อดีของงานณาราคือ ให้ความบันเทิง ในขณะที่ความบันเทิงนั้นก็มีข้อเสียอยู่
เมื่อผู้อ่านไม่ได้มีวุฒิภาวะที่เพียงพอในการอ่าน 
เราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า 
สิ่งที่ผู้อ่านได้รับ จะมีทั้งความบันเทิงและการปลูกฝังความคิดแบบวัตถุนิยมไปโดยที่ผู้อ่านไม่รู้ตัว

เพราะ คงไม่มีใครอยากงานงานที่พระเอกไม่หล่อ ไม่รวย ไม่ฟุ้งเฟ้อ ผู้คนเลือกอ่านวรรณกรรมตลาด
เพื่อหลีกหนีจากโลกแห่งความจริงอันโหดร้ายเท่านั้น เพื่อบรรเทาจิตใจที่อ่อนแอ และถูกกัดกร่อนจากสีงคมแบบวัตถุนิยม หากเราไม่เข้มแข็ง การอยู่ในสังคมแบบนี้โดยไม่ถุกครอบงำนั้นจึงเป็นสิ่งที่ยากเหลือเกิน
วรรรกรรมตลาด หรือเรียกอีกอย่างว่าวรรณกรรมน้ำเน่าจึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยปลอบประโลมจิตใจให้ดีขึ้น 
แต่มันเป็นแค่การรักษาที่ปลายเหตุเท่านั้น วรรรกรรมตลาดไม่ได้รักษาโรคให้หายขาด
มันแค่บรรเทาอาการ และฝังความคิดแบบวัตถุนิยมไปมากยิ่งขึ้น

ลองมามองถึงคุณค่าทางวรรณกรรม หากผู้อ่านยังมีวุฒิภาวะอยู่บ้าง
หรือสามารถรู้จักคิด วิเคราะห์และแยกแยะ เราก็จะมองเห็นคุณค่าทางด้านถาษา และเนื้อหาอยู่บ้างเล็กน้อย

แต่เราต้องยอมรับว่า ผู้อ่านในยุคปัจจุบันไม่ได้มีวุฒิภาวะเยอะขนาดนั้น
จุดเริ่มต้นการอ่านที่ดีควรมาจากงานวรรณกรรมดีๆ ไปสู่งานตลาด มากกว่าที่จะเริ่มจากงานตลาด
ที่จะเป็นตัวสร้างผลผลิตทางถ้านวัตถุนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ.....
แต่ในประเทศของเรา การสนับสนุนด้านการอ่านนั้นมีน้อยมากเหลือเกิน

ดังนั้น จึงไม่ผิดที่จะมีงานตลาด 
แต่อาจผิดที่ระบบสังคมของเรา คนไม่มีความรู้พอที่จะแยกแยะความถูกต้องและะสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
งานตลาดจึงยังคงเป็นแค่เครื่องมือช่วยเพิ่มผลเสียให้สังคมเท่านั้น
และอาชีพนักเขียนก็เป็นเพียงตัวประกอบในสังคมโลภาภิวัตน์ที่ช่วยให้ระบบทุนนิยม และสังคมแบบเปลือกหมุนไปเร็วขึ้น
จนกว่าระบบสังคมของเราจะมีความเข้มเแข็งด้านการอ่านมากกว่านี้ คุณค่าของวรรณกรรมของตลาดจึงจะปรากฏขึ้นมาบ้าง

อาชีพนักเขียน ผิดมั้ย
ก็คงไม่ผิดเพราะยังไงอาชีพนักเขียนก็มีปากท้องของตัวเองที่ต้องดูแล
แต่จะถูกต้องทั้งหมดหรือไม่ 
ก็คงไม่ เพราะไม่ว่ายังไง เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า
ในยุคปัจจุบัน อาชีพนักเขียนก็เป็นตัวขับเคลื่อนสังคมแบบเปลือกนอกในทางอ้อม
หากนักเขียน ยังคงเขียนผลงานเพื่อเงินเลี้ยงปากเลี้ยงท้องอยู่
เขียนเพื่อให้หนังสือขายได้ ไม่ได้เขียนเพราะอยากจะเขียน ไม่ได้เขียนเพื่อพัฒนาสังคม
แต่เขียนตามใจผู้อ่าน

ดังนั้น สุดท้ายมันจึงอยู่ที่ตัวคนเขียนเองว่า
จะเลือกแบบไหน ระหว่าง นักเขียน กับอาชีพนักเขียน
หรือเลือกที่จะอยู่ตรงจุดกึ่งกลางที่สุดท้ายก็ไร้ประโยชน์ 
เพราะสุดท้ายผู้อ่านไม่สามารถแยกแยะ และวิเคราะห์ได้อยู่ดี อันเป็นผลมาจากสภาพสังคมการอ่านที่อ่อนแอในประเทสเรา
ค่าเฉลี่ยที่คนไทยยังอ่านไม่เกิน 7 บรรทัด
และคำพูดติดปากในสังคมโซเชียลเน็ตเวิร์ค ที่มักพูดกันว่า
"ยาวไปไม่อ่าน"